ช่วงนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคโควิด-19 ในประเทศไทยนั้นร้ายแรงและสาหัสมากจริงๆ ยิ่งท่านที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตามล้วนเป็นห่วงว่าสัตว์เลี้ยงของท่านจะติดจากเรามั้ย เค้าจะอยู่อย่างไรหากติดโรคโควิด-19 กันทั้งครอบครัวหรือมีคนหนึ่งใดติดขึ้นมา เป็นปัญหาที่คนรักสัตว์ทุกคนเป็นห่วงแน่นอนครับ
เราเลยมีข้อมูลดีๆมาแชร์กันสำหรับท่านที่กำลังเลี้ยงสัตว์อยู่ในตอนนี้ว่าหากเกิดไม่คาดฝันขึ้นกับสัตว์เลี้ยงที่เราดูแลอยู่จะทำอย่างไรต่อไป มีวิธีป้องกัน และข้อควรปฎิบัติอย่างไร หากเกิดขึ้นจริงๆ
คำถามแรกเลยคือ สุนัขและแมว ติดโรคโควิด-19 ได้มั้ย ?
คำตอบคือได้ครับ แต่ทั้งนี้นั้นยังไม่มีเคสที่ติดในประเทศไทย แต่ต่างประเทศนั้นมีรายงานว่าติดได้ แต่พบน้อยมาก จะพบเฉพาะสัตว์ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเท่านั้นครับ
คำถามที่สอง หากคนที่บ้านติดโรคโควิด-19 ขึ้นมา เราจะทำอย่างไร?
หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงที่อยุ่ในความดูแลทันที
สามารถให้อาหารและน้ำได้ตามปกติ ควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสตัวสัตว์ และกรงสัตว์
กรณีไม่สามารถดูแลสัตว์ได้ สามารถให้ผู้อื่นดูแลแทนได้ตามข้อควรปฎิบัติครับ (ไม่ควรทิ้งหรือปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้นะครับ)
ข้อควรปฎิบัติ เมื่อสุนัขและแมวติดโรคโควิด-19
ไม่ควรทิ้งหรือปล่อยสัตว์เลี้ยงที่ติดโรคโควิด-19 ไว้
สังเกตุอาการ สัตว์อาจจะไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการเล็กน้อย เช่น ไอ จาม หอบ หายใจลำบาก อาเจียน ท้องเสีย และมักหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์
ควรแยกเลี้ยง โดยแยกกรงประมาณ 2 สัปดาห์หรือจกว่าได้รับการตรวจยืนยันว่าปลอดจากเชื้อไวรัสแล้ว (ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อจากสุนัขและแมวสู่คน)
หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสุนัขและแมวควรรักษาระยะห่าง สวมถุงมือ หน้ากากอนามัย และล้างมือทุกครั้ง ที่สัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงกรงสัตว์
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ชามน้ำ ชามอาหาร ผ้าขนหนู เคร่ื่องนอน และกรง
เก็บอุจจาระ ปัสสาวะ หรือของเสียต่างๆ ควรสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย และล้างมือทุกครั้ง และใส่ถุงมือ 2 ชั้นก่อนทิ้ง
ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรให้สมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ดูแลสัตว์แทน
ในกรณีที่สัตว์แสดงอาการป่วน ควรปรึกษาสัตวแพทย์
โทรปรึกษาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (โควิด-19 ในสัตว์) เบอร์ 065-597-2422
ข้อมูลอ้างอิงจาก : หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์ (Research Unit for Emerging and Re-emerging Infectious Diseases in Animals)
Comments