top of page
แองเคอ 1

บทความ

Allergy Profile รวมเคสภูมิแพ้ในสัตว์เลี้ยง Ep1 น้อง "โปโป้"



Backgroud (ประวัติ)

น้อง"โปโป้"เป็นสุนัขที่เลี้ยงอยู่ตัวเดียวภายในบริเวณบ้าน โดยก่อนที่จะเกิดโรคปัญหาผิวหนังเจ้าของได้ให้โปโป้กิน อาหารสุนัขสูตรตรงตามสายพันธุ์ร่วมกับเสริมเนื้อสูตรหลายชนิด และเจ้าของได้ป้อนยาป้องกันเห็บหมัดเป็นประจำทุกเดือน

หลังจาก"โปโป้"อายุ 2 ปีเจ้าของเริ่มสังเกตว่าโปโป้มีอาการคันบริเวณใบหน้า และเลียเท้าบ่อยขึ้นผิดปกติ และเริ่มมีปัญหาโรคผิวหนัง และหูอักเสบเป็นๆหายๆ โดยหลังจากพาไปหาสัตวแพทย์มักตรวจพบการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังซึ่งหลังจากได้รับยาปฏิชีวนะและแชมพูรักษาโรคแล้วสุนัขจะอาการดีขึ้น แต่จะกลับมามีอาการขึ้นมาใหม่ทุกครั้งหลังจากหยุดยาไประยะหนึ่ง

สัตวแพทย์ที่รักษาเบื้องต้นสงสัยว่า "โปโป้" อาจมีปัญหาภูมิแพ้และจึงถูกส่งมาตรวจโรคผิวหนังและภูมิแพ้


Rule out process (ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย)

การตรวจร่างกายและผิวหนัง

จากการตรวจร่วงกายพบว่า"โปโป้"มีรอยแดง และอักเสบบนผิวหนังบริเวณ รอบปาก รักแร้ ขาหนีบ และมีอาการหู ทั้ง 2 ข้างอักเสบ การให้เจ้าของประเมินระดับความคัน (pruritic visual analog score) พบว่าสุนัขมีอาการคันระดับปานกลาง (6/10) ซึ่งจากประวัติและอาการที่ตรวจพบทำให้สงสัยปัญหาภูมิแพ้ จึงเริ่มให้"โปโป้"เข้าสู่ขั้นตอนการควบคุมอาหาร

* ผื่นบวมแดงที่บริเวณปาก

* ผื่น ผื่* ผื่วมแดงที่บริเวณwfewfปากนบวมแดงที่บริเวณปากบวมแงที่บริเวณปาก* ผื่นบวมแดงที่บริเวณปาก* ริเวณป

* เท้าหน้ามีรอยแดง


ขั้นตอนการควบคุมอาหาร (Elimination diet trial)

"โปโป้" ทำการควบคุมอาหารโดยใช้อาหารสำหรับทดสอบภาวะแพ้อาหาร (Hydrolyzed diet) โดยพบว่าหลังจากคุมอาหารไปได้เป็นระยะเวลานานกว่า 8 สัปดาห์เพื่อทดสอบว่า"โปโป้"มีภาวะแพ้อาหาร (Adverse food reaction) หรือไม่ต่อมาพบว่า"โปโป้"ยังมีอาการคันไม่ลดลง จึงถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อม (Atopic dermatitis) และให้เจ้าของป้อนยาเพื่อควบคุมอาการคัน

* หูอักเสบมีรอยแดง



Treatment & Allergy testing (ขั้นตอนการรักษาอาการและการทำวัคซีนภูมิแพ้)

หลังจากได้รับยาลดอาการคันอย่างต่อเนื่อง "โปโป้"มีอาการดีขึ้นไม่มีอาการคันแต่จำเป็นต้องป้อนยาทุกวัน หากขาดยาแล้วจะเกิดอาการคัน สัตวแพทย์จึงแนะนำให้เจ้าของทำการตรวจเลือดเพื่อระบุชนิดสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหากับ"โปโป้" (Allercept allergen specific IgE test, Heska – USA) และทำการรักษาต่อเนื่องด้วยการทำวัคซีนภูมิแพ้ (Allergen specific immunotherapy) เพื่อทำให้ความรุนแรงของอาการลดลง และสามารถลดยาที่ใช้คุมอาการคันได้


Laboratory Report (ผลตรวจ HESKA Lab USA)

ผลการตรวจ Allergen specific IgE พบว่า “โปโป้” มีความไวต่อสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ทั้งในและนอกบ้านโดยเป็นการแพ้ไรฝุ่น (Tyrophagus putrescentiae) และละอองเกสรหญ้า(Shadescale Chenopodium)ซึ่งสอดคล้องกับที่อยู่อาศัยของโปโป้

สัตวแพทย์จึงแนะนำให้มีการจัดการทำความสะอาดบ้าน เปลี่ยนเครื่องใช้ที่เป็นแหล่งอมฝุ่น และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสนามหญ้าควบคู่กับการทำวัคซีนภูมิแพ้

heska panel ist

สารก่อภูมิแพ้ที ‘โปโป้’ แพ้ได้แก่

  • Tyrophagus putrescentiae (ไรโรงเก็บ)

  • Shadscale Chenopodium (ละอองเกสรหญ้า)

ALLERCEPT®

The safest long term allergy treatment solution

for canine, feline or equine patients.

HESKA Environmental 24 Allergens

ผลการรักษาน้อง "โปโป้"

หลังจากทำวัคซีนภูมิแพ้ได้ 1 ปีพบว่า"โปโป้"มีอาการคันที่ลดลง และเจ้าของสามารถควบคุมอาการคันได้จาก การป้อนยาทุกวันเป็นการป้อนยาวันเว้นวันโดยที่ยังไม่มีอาการคัน และมีแนวโน้มที่จะลดปริมาณได้มากขึ้นอีกในอนาคต ช่วยให้ "โปโป้" คุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น



ขอขอบคุณข้อมูลเคสนี้ จาก น.สพ เอื้อพงศ์ วราทร




ดู 1,756 ครั้ง
bottom of page