top of page
แองเคอ 1

บทความ

โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (FIP) โรคอันตรายถึงชีวิต



โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว หรือชื่อภาษาอังกฤษ Feline Infectious Peritonitis [FIP] เป็นโรคที่ติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอักเสบ ซึ่งถ้าเกิดขึ้นกับอวัยวะใดๆนั้นก็จะเป็นผลเสียทำลายระบบต่างๆซึ่งสามารถพบได้บ่อยว่ามีผลกับอวัยวะในช่องท้องอวัยวะในช่องอก ตา และรวมถึงระบบประสาท โรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโคโรน่าในแมว (feline coronavirus = FCoV) ซึ่งไวรัสโคโรน่าในแมวนั้นคนละสายพันธุ์กับเชื้อไวรัสโคโรน่าในคนที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้


ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 type 1. virulent feline coronavirus FCoV 2. Genetic recombination ซึ่งทั้งสองชนิดแสดงอาการเหมือนกัน โดยขึ้นกับพันธุกรรม แมวในแต่ละตัว ซึ่งเกิดจากสิ่งแวดล้อมในแต่ละตัวพื้นที่เลี้ยงแตกต่างกัน


สายพันธุแมวที่มักพบได้บ่อย

สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยได้แก่ Bengals, Abyssinians, Himalayans, Birmans, Rexes, Burmese, Australian Mists, British Shorthairs, Cornish Rex รวมทั้ง Domestic Shorthairs และ Persians


ช่วงอายุที่มักจะเป็น

ช่วงอายุที่มีความเสี่ยงสูงที่จะพบได้บ่อย ได้แก่แมวอายุน้อยกว่า 2 ปี และแมวแก่อายุมากกว่า 17 ปีคือช่วงที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง


แนวทางการวินิจฉัย

การวินิจฉัยยืนยันโรคนี้สามารถทำได้หลังจากที่ สัตว์ป่วย เสียชีวิต และทำการตรวจโดยการผ่าพิสูจน์และยืนยันทาง พยาธิวิทยา นอกจากนั้น ยังสามารถใช้การตรวจวินิจฉัยหลายอย่าง ประกอบเพื่อช่วยในการวินิจฉัย แต่ไม่สามารถใช้วิธีการ ตรวจเพียงอย่างเดียวเพื่อวินิจฉัยโรคนี ้ได้


1. History(ประวัติ) มีประวัติการเลี้ยงแมวหลายตัวในพื้นที่เดียวกัน มีประวัติที่ทำให้แมวเครียด เช่น เปลี่ยนที่อยู่ การทำหมัน ผ่าตัด

2. การตรวจทางคลินิค แบ่งเป็นสองชนิด

2.1 effusive FIP แมวอาจจะดูเป็นปกติหรือซึมได้ มักจะมีไข้อยู่ที่ 39-39.5องศา และอาจจะพบร่วมกับอาการ ท้องกาง มีน้ำในช่องท้อง และช่องอก

2.2 non-effusive FIP แมวที่ป่วยมักจะมีไข้นานกว่า 4 วัน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร mesenteric Lymphnode ไหญ่ นอกจากนี้อาจพบภาวะ ตัวเหลือง หรืออาการทางระบบประสาท เช่น ataxia nystagmus, intraocular sign เช่น Uveitisretinal vessel cuffing

3. Analyse effusion (การวิเคราะห์อาการ) ผลการตรวจที่บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ของการเกิดโรค FIP ได้แก่

- น้ำในช่องอกหรือส่วนต่างๆมักพบว่ามีสีฟางข้าว หรือใส เหนียว และมักจับตัวเป็นก้อนเมื่อนำไปแช่เย็น ถ้าได้ของเหลวเป็นเลือด มีหนองปน หรือมีกลิ่น ลักษณะดังกล่าวไม่บ่งบอกการเป็นโรค FIP 

- Rivalta’s test positive เป็นการตรวจที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลได้ง่าย แต่ไม่สามารถใช้ในการ confirm การเป็นโรคได้ โดยจะ วัดจาก น้ำที่เจาะได้มีโปรตีน, fibrin และ เซลล์อักเสบ


4. Ultrasound 


รูป ultrasound ของแมวที่เป็นโรค FIP แบบ noneffusive, ไตพบ hypoechoic subcapsular echogenicity(บริเวณ ลูกศรชี้) รวมถึงบริเวณ renal cortex (ลูกศรเส้นประ) และrenal medulla (ลูกศรจุด)


ไม่มีลักษณะใดบ่งบอกพิเศษว่าเป็นโรค FIP ให้เห็นทาง ultrasound และลักษณะที่ปกติไม่สามารถ rule out โรค FIP ได้ อาจจะพบว่าตับและม้ามมีลักษณะที่ปกติได้


5. Reverse Transcriptase-Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) เป็นการตรวจหาเชื้อ coronavirus infection โดย RT-PCR ซึ่งไม่สามารถใช้แยกได้ว่าเป็นเชื้อที่จะก่อให้เกิดโรคหรือไม่ก่อให้เกิดโรค FIP สามารถตรวจหาได้จาก อุจจาระน้ำที่เจาะออกมาจากบริเวณต่างๆ การ biopsy หรือการ FNA จาก อวัยวะส่วนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากสามารถเกิด false-negative และfalse positive ได้ ต้องทำการตรวจด้วยหลายๆวิธีเข้าด้วยกัน


6. Feline corona antibody test (FCoV rapid test) จะเป็น test ที่ใช้ในการทดสอบการเป็น FCoV เท่านั้นแต่ไม่สามารถบ่งบอกถึงการเป็นโรค FIP ได้เนื่องจาก FIP ไม่สามารถ วินิจฉัยจากการที่ titer เป็นบวก rule out จาก titer ที่เป็นลบได้ titer อาจลดลง เนื่องจากมี Antibody จับกับตัวเชื้อไวรัส 10 % ของแมว ที่เป็น FIP พบว่าได้ผลเป็นลบต่อ Corona virus antibody titer รวมถึงการตรวจ RT-PCR เช่นกัน ยกเว้น การตรวจ RT PCR จาก effusion ถ้า positive FCoV มีความเป็ นไปได้สูงในการเป็น FIP แต่ถ้า negative ไม่สามารถใช้ใน การ rule out โรคได


7. Reverse Transcriptase-Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) เป็นการตรวจหาเชื้อ coronavirus infection โดย RT-PCR ซึ่งไม่สามารถใช้แยกได้ว่าเป็ นเชื ้อที่จะ ก่อให้เกิดโรคหรือไม่ ก่อให้เกิดโรค FIP สามารถตรวจหาได้จาก อุจจาระ น ้าที่เจาะออกมาจากบริเวณต่างๆ การ biopsy หรือการ FNA จาก อวัยวะส่วนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากสามารถเกิด false-negative และfalse positive ได้ ต้องทำการตรวจด้วยหลายๆวิธีเข้าด้วยกัน


8. Histopathology (จุลพยาธิวิทยา) ถือเป็น gold standard ที่ใช้ในการ confirm โรค FIP ซึ่งจะพบ lesion ของการเกิด perivascular granulomatous หรือ pyogranulomatous inflammation และ vasculitis ถ้าตรวจพบลักษณะดังกล่าวสามารถวินิจฉัยโรคได้


แนวทางการป้องกันโรคนี้

วิธีเดียวที่จะทำการป้องกัน FIP ได้นั่นคือ ต้องป้องกันการติดเชื้อโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. การทำความสะอาดและการจัดการกระบะทราย ควรจะสะอาดและมีปริมาณให้มากพอ ปริมาณที่น้อยที่สุดที่เหมาะสำหรับแมวในบ้านได้แก่ จำนวนแมว +1

2. กระบะทรายและชามอาหารและน้ำไม่ควรเก็บอยู่ในห้องเดียวกัน

3. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงแมวจำนวนมากในที่พักเดียว แนะนำว่าควรแยกเลี้ยงเป็นกลุ่มเล็กๆหลายๆกลุ่มจะดีกว่าและไม่ควรเลี้ยงอย่างหนาแน่นจนเกินไป

4. แมวที่ถูกเลี้ยงในสถานเลี้ยงแมวควรแยกเลี้ยงเป็นกรงละตัวเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเลี้ยงที่หนาแน่นเดินไป

5. ถ้ามีการเมตตาฆาตแมวที่สงสัย FIP ควรทำความสะอาดและพักสถานที่เลี้ยงไว้ประมาณ 3 เดือนก่อนจะนำแมวตัว ใหม่มาเลี้ยง ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อเป็นเชื้อ corona virus ซึ่งมีความคงทนในสภาพแวดล้อม

6. ถ้าตรวจไม่พบเชื้อ corona virus ใน cattery ก็ไม่ควรพบแมวติดเชื้อเช่นกัน

7. RT-PCR testing สามารถ ใช้ในการตรวจจับเชื้อ FECV ใน feces ได้แต่อย่างไรก็ตามควรใช้การทดสอบหลายๆชนิดเพื่อประมวลผลร่วมกัน


บทความอ้างอิงจาก : เอกสารสัตว์แพทย์สภา อาวุโส
ดู 270,666 ครั้ง
bottom of page