
อาหารเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสุนัขเป็นอย่างมาก อาหารเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาระบบในร่างกายของสุนัขได้เป็นอย่างดีหากได้รับจำนวนสารอาหารที่ครบถ้วนตามโภชนาการของสุนัขเช่นกัน
1. น้ำ( Water)
น้ำเป็นสารที่สำคัญมากชนิดหนึ่งต่อร่างกายเนื่องจากร่างกายสัตว์ประกอบด้วยน้ำ ประมาณ 70% ดังนั้นการที่ร่างกายขาดน้ำ จะส่งผลกระทบอยางรุนแรงและเฉียบพลันต่อตัวสุนัขมากกว่าการขาดสาดอาหารชนิดอื่น เช่น สัตว์สูญเสียไขมน หรือโปรตีน มากกว่าครึ่งหนึ่งของร่างกาย สุนัขยังคงมีชีวิตอยู่ได้ แต่สุนัขท์ที่สูญเสียน้ำเพียง 10%ของน้ำในร่างกายสามารถสูญเสียชีวิตได้ทันที่
หน้าที่ของน้ำในร่างกายที่สำคัญคือการขนส่งสารอาหารขจัดของเสียและการระบายความร้อนออกจากร่างกาย สุนัขตัองมีน้ำที่สะอาดตั้งไวให้กินตลอดเวลา โดยเฉพาะอยางยิ่งกรณีที่เลียงสุนัขด้วยอาหารแห้ง และควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน

2.โปรตีน (Protein)
โปรตีน เป็นสสารที่ร่างกายนำไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อผิวหนังผมและเล็บ ฯลฯ นอกจากนี้เอนไซมและฮอร์โมนส่วนมากมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ หน่วยย่อยของโปรตีนเรียกว่า กรดอะมิโน (amino acids) ซึ่งได้มาจากทั้งอาหารที่สัตว์กินเข้าไป และร่างกายสังเคราะห์เอง ในอาหารสัตว์ควรมีกรดอะมิโนครบถ้วนและมีปริมาณมากพอเพื่อให้ขบวนการสร้างโปรตีนดำเนินไปอย่างปกติและสอดคล้องกับความต้องการของร่างกาย กรดอะมิโนบางชนิดที่ร่างกายไม่
สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้(Essential amino acid) จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่สัตว์กินเข้าไป
วัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งโปรตีน หรือกรดอะมิโนได้มาจาก 2 แหล่งคือจากพืชและจากสัตว์ โปรตีนจากสัตวที่นิยมนำมาทำอาหารสุนัขได้แก่ เนื้อ โค สุกร ม้า สัตว์ปีก ปลา ส่วนวัตถุที่มีคำว่า By - products อยู่ด้วยจะหมายถึง เนื้อผสมกับเครื่องใน ขน หัวและเท้าผสมอยู่ด้วย นอกจากนียังมีไข่ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีแต่ควรทำให้สุกก่อนให้สุนัขกิน เพราะไข่ขาวจะย่อยได้ดีกว่า
โปรตีนจากพืชที่นิยม ได้แก่ แป้งขาวโพดแป้งถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง อัลฟัลฟ่าป่น และวีทเจิร์ม โดยทั่วไปโปรตีนจากพืชจะมีสมดุลและการใช้ประโยชน์นี้ได้ ของกรดอะมิโนด้อยกว่าโปรตีนจากสัตว์ นอกจากนี้บางชนิดยังประกอบด้วยสารพิษทำให้สัตวใช้์ โปรตีนจากพืชหรือแร่ธาตุอื่นในอาหาร
สัตว์ได้ไมเต็มที่เช่น โปรตีนจากพืชจะมีกรด Phytic กรดนี้จะรวมกับแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ฟอสฟอรัส ทำให้การใช้ประโยชั้น ของแร่ธาตุดังกล่าวลดลง

3. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของเซลล์ต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซลลประสาท์ เซลล์หัวใจและเม็ดเล็อดแดง นอกจากนีกลูโคสซึ่งเป็น
หน่วยเล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ ได้ ยังช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโนและสารต่าง ๆในร่างกายและทำงานร่วมกับโปรตีนและไขมันในส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย
อย่างไรก็ตามการกินคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไปร่างกายสััตว์เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตส่วนเกินเป็นไขมน
สะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายทำให้เกิดโรคอ้วนได้ (Obesity)
แหล่งคาร์โบไฮเดรตในอาหารสุนัขได้แก่ ข้าวโพด ข้าวขาว ขาวสาลี ข้าวโอ๊ด เมล็ดธัญพืช ขนมปัง
มันฝรั่งและพาสต้า ส่วนประกอบพวกนี้จะมีราคาถูกและใช้เป็นจำนวนมากในอาหารสุนัข

4. ไขมัน (Lipid)
ไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงเมื่อเทียบกับโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เท่ากัน ไขมันให้พลังงานที่สูงกว่าประมาณ 2.5 เท่า ไขมันยังมีประสิทธิภาพย่อยได้สูงกว่าอีกด้วย นอกจากให้พลังงาน
แล้วยังทำหน้าที่อีกหลายอย่างเช่น เป็นแหล่งของกรดไขมันที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายและป้องกันการเกิดโรคผิวหนังได้แก่ กรดไขมันลิโนเลอิค (Linoleic acid) ช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้แก่วิตามิน อี ดี เอและเค เป็นฉนวนป้องกันความร้อนออกจากร่างกาย และห่อหุ้มป้องกัน
อันตรายต่อเนื้อเยื่อต่างๆ วัตถุดิบ
แหล่งของกรดไขมันลิโนเลอิคที่สำคัญได้แก่ น้ำมันลีนซีน และน้ำมันแฟล็กซีน นอกจากนี้การเสริมอาหารไขมันในอาหารสัตว์ ยังช่วยให้อาหารมีความน่ากินและเพิ่มรสชาติของอาหารอีกด้วย
5. วิตามิน (Vitamins)
วิตามินเป็นสารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อย แต่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และการให้ผลผลิต ถ้าเกิดการขาดหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการอาจทำให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งมีทั้งร่างกายสัตว์สังเคราะห์ได้เอง
และมีอยู่ในอาหารสัตว์ โดยทั่วไปวิตามินแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. วิตามินที่ละลายได้ในไขมันได้แก่วิตามินเอดี อี และเค
2. วิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินซี

6. แร่ธาตุ (Mineral)
แร่ธาตุเป็นสารอาหารที่ทำหน้าที่สำคัญในร่างกายมากมาย เช่น เป็น
องคประกอบท์สำคัญของกระดูก ฟัน เนื้อเยอตาง ๆ ช่วยในขบวนการเมตาบอลิ
ซึมของร่างกาย ช่วยควบคุมความเป็นกรดด่างของเลือด ช่วยเร่งปฏิกิริยาทางเคมของร่างกาย และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ วิตามิน และฮอร์โมน

อย่าลืมให้สุนัขหรือสัตว์ที่คุณเลี้ยงกินอาหารให้ครบหลักโภชนาการและครบถ้วนด้วยนะครับ
บทความอ้างอิงจาก
http://vet.kku.ac.th/physio