
เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคที่ผิวหนังสุนัข เรีกยว่า Dermatophytosis หรือ Ringworm สามารถก่อพยาธิสภาพได้เฉพาะตําแหน่งที่มีการสร้างเคราติน (Keratin) เท่านั้น เช่น ผิวหนังกําพร้าชั้นขี้ไคล เส้นขน และเล็บ จำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ Microsporum และ Trichophyton การเกิดโรคมักเกิดจากเชื้อในตัวใดตัวหนึ่งใน 3 ชนิดคือ
1. Microsporum canis (พบได้บ่อยสุด)
- มักติดจากสปอร์ที่อยู่ตามสิ่งแวดล้อม หรือติดมากับแปรง หวี และอุปกรณ์อื่นๆ
2. Microsporum gypseum
- ปกติจะอยู่ตามพื้นดินและอาจพบตามขนและผิวหนังของสัตว์ที่ถูกปล่อยเลี้ยงตามพื้นดิน โดยอาจทำให้เกิดโรคหรือไม่ก็ได้
3. Trichophyton mentagrophytes
- สาเหตุเกิดจากสัตว์ฟันแทะ ( สัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู กระรอก ) เป็นตัวกักเก็บเชื้อ ดังนั้นสุนัขจึงอาจติดโรคถ้ามีการสัมผัสสัตว์ฟันแทะพวกนี้ได้
โรคผิวหนังสุนัขจากมาลาสซีเซีย
จุลชีพพวกยีสต์ หรือ Malassezia pachydermatis หรือ Pityrosporum pachydermatis หรือ Pityrosporum canis เป็ยยีสต์ที่ขยายจำนวนได้ดีบนผิวหนังที่ชื้นและมีไขมันสะสมมาก

อาการ
ส่วนมากเมื่อมีการสัมผัสกับเชื้อราแต่โอกาสติดเชื้อแบะการแสดงอาการจะน้อยเพราะมีปัจจัยที่ไม่เอื้อต่อการติดโรค เช่น สภาพภูมิต้านทานโรคของร่างกาย ถ้าร่างกายมีปัญหาภูมิต้านทานของร่างกายถูกกดหรือร่างกายอ่อนแอ ก็จะเปิดโอกาสให้เชื้อเพิ่มจำนวนและก่อให้เกิดโรคขึ้น
ลักษณะของผิวหนังที่ติดเชื้อรา จะยากต่อการวินิจฉัย เนื่องจากว่าจะมีอาการคล้ายกับโรคผิวหนังอื่นๆ แต่พอจะสังเกตุได้ว่าการเกิดโรคจะปรากฏที่ผิวหนังชั้นนอกและขน โดยเฉพาะขนที่กำลังงอกใหม่ ขนจะร่วงแผ่ขยายเป็นวงหรือแผ่กระจายทั่วไป ผิวหนังเป็นผื่นแดงอาจมีรังค หรือสะเก็ดหนองแห้งคลุม ผิวหนังอักเสบ อาจคันมากหรือน้อยก็ได้ และอาจลามไปที่เล็บได้
การเกิดโรค
มักพบที่ผิวหนังบริเวณโคนใบหู ใต้คอ ซอกขาหนีบ โคนหาง ช่องหูส่วนนอก และใบหูด้านใน โดยบริเวณที่เป็นจะมีอาการขนร่วง หนาและกระด้างขึ้น สีเปลี่ยนไปมีไขมันแห้งหรือเหลวปกคลุม คันและมีกลิ่นเปลี่ยนไปจากปกติ ส่วนการติดเชื้อที่ช่องหูส่วนนอกจะทำให้ขี้หูมากกว่าปกติ มีอาการคัน อักเสบ และมีกลิ่นแรง พบได้ทุกอายุ พันธุ์สุนัขที่พบบ่อยได้แก่ คอกเกอร์สแปเชียล ชิสุ พูเดิล ซิลกี้เทอร์เรีย ชิวาวา เยอรมันเชพเพอด การเกิดโรคอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังร่วมด้วย
การรักษา
ถ้าเป็นเฉพาะแห่งอาจใช้ยาครีมป้าย โดยตัดขนให้เกลี้ยง แล้วป้ายยาฆ่าเชื้อราซึ่งจะให้ผลการรักษาดีที่สุด สำหรับโรคที่กระจายทั่วตัว อาจจำเป็นต้องตัดขนทั้งตัว แล้วอาบด้วยแชมพูขจัดรังแค หรือแชมพูที่มีส่วนผสมของ Chlorhexdine และ Miconazole หรือตัวยาที่ใก้ลเคียงกัน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และอาจจำเป็นต้องให้ยากินร่วมด้วย
ข้อมูลอ้างอิงจาก : โรงพยาลสัตว์ ตลิ่งชัน